บทที่ 13 จรรยาบรรณวิชาชีพการโฆษณา


จรรยาบรรณของนักโฆษณา


จรรยาบรรณของนักโฆษณาโดยฝ่ายวิชาการสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย
                การสร้างสรรค์โฆษณา นักโฆษณาผู้มีหน้าที่ในการคัดเลือกสารโฆษณาเพื่อเผยแพร่ต่อผู้บริโภคควร สร้างสรรค์โฆษณาเพื่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคม และยึดหลักจรรยาบรรณของโฆษณา ดังต่อไปนี้
                1.ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักปฏิบัติและวิชาการ และอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                2.ไม่กระทำการใดๆอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกรียติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
                3.มีความรับผิดชอบต่อสังคม ยึดถือในจริยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
                4.ไม่ควรกระทำโฆษณาอันเป็นการดูหมิ่นศาสนา หรือความเชื่อ หรือสิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะของบุคคล
                5.ไม่ควรกระทำโฆษณาอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญที่เกี่ยวกับสินค้า บริการ การแสดงหรืออื่นๆ หรือโอ้อวดสรรพคุณจนเกินความจริงทำให้ผู้เห็นหรือ ผู้ฟังเกิดความสำคัญผิด
                6.ไม่ควรกระทำโฆษณาโดยการโจมติหรือเปรียบเทียบสินค้า บริการ การแสดงหรืออื่นๆ ของผู้อื่นอย่างไม่ยุติธรรม โดยใช้วิธีเปรียบเทียบใดๆอันทำให้ผู้เห็นหรือผู้ฟังเกิดความสำคัญผิด
                7.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยใช้เสียงที่เป็นการก่อกวนความรู้สึกให้กับผู้ฟัง
                8.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยทำให้เกิดความกลัวโดยไม่มีเหตุอันสมควร
                9.ไม่กระทำการโฆษณาโดยใช้ความเชื่อถือเกี่ยวกับไสยศาสตร์ หรือเรื่องโชคลางมาเป็นข้อจูงใจ
                10.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า คำขวัญ หรือข้อความสำคัญจากการโฆษณาของผู้อื่น อันทำให้ผู้เห็นหรือผู้ได้ยินเกิดความเข้าใจผิด หรือไขว้เขวเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือการแสดงของผู้อื่น
                11.ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันเป็นการสนับสนุนหรือก่อให้เกิดการกระทำอันผิดกฎหมายหรือศีลธรรม
                12.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยใช้ศัพท์สถิติ ผลการวิจัย หรือ อ้างอิงรายงานทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ไม่สมควร หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยที่สินค้านั้นไม่มีคุณสมบัติที่อ้าง
                13.ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันก่อให้เกิดความเหยียดหยามกันเกี่ยวกับกาซื้อชาติหรือศาสนา
                14.ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยอ้างอิงตัวบุคคล หรือสถาบัน โดยที่ตัวบุคคลหรือสถาบันไม่มีตัวตนอยู่จริง และ ไม่ได้ใช้สินค้า บริการ หรือชมการแสดงนั้นจริง
                15.ไม่ควรกระทำโฆษณาอันอาจมีผลเป็นอันตรายต่อเด็ก หรือเยาว์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ หรือทำให้ขาดความรู้สึกผิดชอบ หรือโดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบุคคลดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือใน การจูงใจโดยไม่สมควร
                16.การโฆษณาโดยการอ้างอิงบุคคลในวิชาชีพอื่นที่มีการควบคุมตามพระราชบัญญัติต่างๆ ต้องเป็นไปตามมรรยาทแห่งวิชาชีพนั้น
คุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพนักโฆษณา

   ปัจจัยที่มีผลต่อคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับวิชาชีพนักโฆษณามี 2 ลักษณะ คือ
                1.ลักษณะของการควบคุมจากภายนอก มี 2 ประเภทสำคัญ คือ
                     1.1สภาพแวดล้อมของวิชาชีพนักโฆษณา
                               โดยทั่วไป วิชาชีพนักโฆษณาอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมไม่อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งการดำเนิน วิชาชีพจะต้องรับผิดชอบต่อบทบาทของตนในสภาวะแวดล้อมนั้นๆ เช่น ในฐานะที่เป็นองค์กรหนึ่งของสังคมสื่อมวลชยจะต้องรับผิดชอบต่อบทบาทในการให้ ข่าวสาร ให้ความบันเทิงความรู้และเสริมสร้างสติปัญญาให้แก่คนในสังคมเป็นการเอื้อ อำนวยในระบบทางการเมืองของรัฐดำเนินไปด้วยความราบรื่น
                                1.2กฎหมายและระเบียบ หมายถึง การดำเนินวิชาชีพอย่างมี ความรับผิดชอบต่อกฎหมายระเบียบ และ กฎเกณฑ์อื่นๆ ในสังคมที่จะมีผลกระทบต่อวิชาชีพ
                2.การควบคมตนเอง
                คุณธรรม และจริยธรรมเกิดจากการควบคุมตนเอง เป็นสำนึกของความรับผิดชอบในการดำเนินวิชชาชีพโฆษณาโดยตรง เมื่อนักโฆษณาได้ปฏิบัตินับว่ามีจิตสำนึกในความรับผิดชอบของวิชาชีพได้จัด ว่ามีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพสูง ตรงกันข้ามเมื่อไม่มีการปฏิบัติไม่มีบทกำหนดโทษแต่อย่างใด การควบคุมตนเองจึงเป็นเพียงหลักปฏิบัติและข้อแนะนำให้ปฏิบัติเท่านั้นการควบ คุมตนเองในวิชาชีพมี 2 ประเภทสำคัญ คือ
                                2.1โดยการปฏิบัติงาน
                                การปฏิบัติงานในองค์กรวิชชาชีพนักโฆษณาทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชนจะ มีผู้ที่มีหน้าที่กลั่นกรองเลือกข่าวสาร อยู่ในกระบวนการรวบรวม เพิ่มเติม ตกแต่ง เปลี่ยนแปลง และคัดเลือกเนื้อหาแต่ละประเภทเพื่อนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน หน้าที่การปฏิบัติงานต่างอยู่ภายใต้พื้นฐานความรู้สึกรับผิดชอบ ทัศนคติเกี่ยวกับสาระเนื้อหานั้นๆ และสำนึกในคุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพทั้งสิ้น
                                2.2โดยสมาคมวิชาชีพ
                                กฎหมายและระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในวิชาชีพโดยตรงได้ถูกกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนักโฆษณา เพื่อให้สมาชิกประพฤติและปฏิบัติอยู่ภายใต้กรอบอันเป็นลักษณะของการควบคุมตน เองให้เกิดความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ เรียก จรรยาบรรณหรือประมวลจริยธรรมส่วนใหญ่จะเน้นความรับผิดชอบในการเสนอข่าวสาร และเนื้อหา ด้วยความเที่ยงตรง และจริงใจ พร้อมทั้งกระบวนการความยุติธรรม อย่างไรก็ตามประมวลจรรยาบรรณเป็นเพียง “กรอบ” หรือ “ข้อปฏิบัติ” ที่สมาคมวิชาชีพกำหนดไว้ให้ยึดถือและปฏิบัติกันในบรรดานักวิชาชีพที่เกี่ยว ข้องเท่านั้น หาใช่กฎหมายหรือระเบียบที่สมาชิกต้องปฏิบัติตามเสมอไป แม้สมาชิกบางคนจะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติก็หาได้มีบทลงโทษแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ประมวลจรรยาบรรณจะสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใดย่อมอยู่ที่ความ รู้สึกมีจิตสำนึกรับผิดชอบในความประพฤติความควบคุมตนเองได้ให้มีคุณธรรมและ จริยธรรมเพื่อวิชาชีพของตนเอง เพื่อนำไปสู่คุณปะโยชน์ต่อสังคมสืบไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น